วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ตั้งอยู่ภายในบริเวณคุ้มของอดีตเจ้าผู้ครองนครน่าน ที่เรียกว่า "หอคำ" โดยเจ้าสุริยพงศ์ผริตเดช เจ้าเมืองน่าน สร้างขึ้นเป็นที่ประทับ เมื่อ พ.ศ. 2446 ลักษณะตัวอาคารโอ่โถงงดงามก่ออิฐถือปูนแข็งแรง แต่ตกแต่งให้อ่อนช้อยสวยงามด้วยลายลูกไม้ นับเป็นสถาปัตยกรรมก่อสร้างที่ดีเด่นแห่งหนึ่งของเมืองไทย นอกจากนั้นบริเวณด้านหน้าพิพิธภัณฑ์เป็นที่ตั้งอนุสาวรีย์เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ผู้เป็นเจ้าของหอคำแห่งนี้ด้วย กรมศิลปากรได้รับมอบอาคารหอคำเพื่อใช้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดน่าน เมื่อปี พ.ศ. 2517 แล้วจึงนำโบราณวัตถุ ตลอดจนสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ศิลปะ โบราณคดี และชาติพันธุ์วิทยาประจำท้องถิ่น มาจัดแสดงให้ชมอย่างมีระบบและระเบียบสวยงาม คือ ส่วนที่เป็นห้องจัดแสดงชั้นล่าง จัดแสดงชาติพันธุ์วิทยาเกี่ยวกับล้านนา เช่นลักษณะอาคารบ้านเรือนและเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน การทอผ้าและผ้าพื้นเมืองน่านแบบต่างๆ ที่สวยงามมาก การสาธิตงานประเพณีและความเชื่อต่างๆ เช่น การแข่งเรือ จุดบ้องไฟสงกรานต์ และพิธีสืบชะตา เป็นต้น ที่น่าสนใจในการจัดแสดงห้องโถงข้างล่างนี้ ยังมีการจัดแสดงเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่และเครื่องใช้ของชนกลุ่มน้อยในเมืองน่าน รวม 5 เผ่าด้วยกัน คือ ไทยลื้อ แม้ว เย้า ถิ่น และผีตองเหลือง ส่วนบริเวณห้องจัดแสดงชั้นบน เป็นการจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเมืองน่าน การสร้างเมือง และ โบราณสถานที่สำคัญ รูปถ่ายโบราณ งานประณีตศิลป์ เครื่องใช้เงินตรา อาวุธ ศิลาจารึก และเครื่องถ้วยชามที่ค้นพบในเมืองน่าน
และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่อยู่ในคำขวัญของจังหวัดน่าน และเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าเป็นมรดกคู่บ้านคู่เมืองของเมืองน่านมาช้านานนั้นก็คือ งาช้างดำ "งาช้างดำ" ซึ่งเป็นปูชนียวัตถุคู่เมืองน่าน ตามประวัติกล่าวไว้ว่า ได้มาจากเมืองเชียงตุง ตั้งแต่ครั้งโบราณ เมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้ายถึงแก่พิราลัย เจ้านายบุตรหลานจึงมอบให้เป็นสมบัติของแผ่นดินพร้อมหอคอย ลักษณะของงาช้างดำนี้เป็นงาปลีเปลือกสีน้ำตาลเข้า ขนาดความยาว 97 เซนติเมตร วัดโดยรอบ 47 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 18 กิโลกรัม ส่วนปลายมนมีจารึกอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทยกำกับไว้ว่า "กิ่งนี้หนักหนึ่งหมื่นห้าพัน" หรือประมาณ 18 กิโลกรัม 

นอกจากจะมีสิ่งของต่างๆ ให้เราได้ศึกษาถึงประวิติศาสตร์บ้านเมืองแล้ว พิพิธพัณฑสถานแห่งชาติน่าน ยังเป็นที่พักผ่อนย่อนใจของคนเมืองน่านอีกด้วย ซึ่ง บริเวณรอบๆยังเต็มไปด้วยต้นไม้นาๆพันธุ์ ซึ่งให้ร่มเงา ทำให้สามารถมานั่งอ่านหนังสือหรือวิ่งเล่นได้ 
           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดน่าน เปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าชมตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. ทุกวัน เว้นวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ติดต่อ โทร. 054-710561

กาดน่าน

เที่ยวเหนือล่องใต้เมืองน่าน เหนื่อยๆ ก็ต้องแวะเที่ยวที่กาดน่าน ซึ่งเป็นกาดที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ สไตย์หมู่บ้านเก่าแก่มีเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ มีร้านค้าประมาณ 30 ร้านค้า  ซึ่งเป็นศูนย์กลางการขายสินค้าที่เป็นศูนย์การค้าที่ใหญ่และมีเอกลักษณ์มากที่สุดในจังหวัดน่าน ซึ่งที่กาดน่านจะเปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 17.00 น. -22.00 น. ซึ่งที่นี้ยังรวมเอาสินค้าต่างๆ ที่ผลิตขึ้นในพื้นที่จังหวัดน่านมารวมกันวางขายกันที่นี้ และนอกจากจะมีสินค้าต่างๆนำมาว่างขายแล้ว ก็ยังมีการแสดงศิลปะวัฒนธรรมพื้้นบ้านของจังหวัดน่านมาจัดแสดงกันอยู่ที่นี้ด้วย เรียกได้ว่ามาเที่ยวที่กาดน่านที่เดียวก็สามารถสัมผัสได้ถึงกลิ่นไอของคำว่าเมืองน่านเมืองแห่งวิถีชีวิต เมืองแห่งวัฒนธรรม
กาดน่านจะมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชม และจับจ่ายใช้สอยอยู่เป็นประจำ เฉลี่ยแล้วปีๆหนึ่งรับนักท่องเที่ยพอสมควรสำหรับตลาด หรือกาด ทีกำลังจะเปิดใหม่ได้ 100000 คนต่อปี ซึ่งนับว่ามาก

สิ่งที่เราจะพบได้นอกจากการขายสินค้าแล้ว ยังมีการแสดงศิลปะการเล่นดนตรีของคนโบราณหรือผู้เฒ่าผู้แก่ของจังหวัดน่าน และที่สำคัญเมืองน่านนับได้ว่ามีเพลงประจำจังหวัดเป็นที่แรกของประเทศ ซึ่งเป็นการร้องรำทำเพลง ซึ่งถือกำเนิดขึ้นมาในเรือที่เจ้าเมืองวรนคร (อำเภอปัว) ย้ายถิ่นฐานหรือเมืองหลวงจากอำเภอปัวไปที่อำเภอเมืองน่าน ซึ่งใช้เส้นทางการเดินเรือในแม่น้ำน่านแทนการเดินเท้าและระหว่างการเดินเรือนั้นแต่ละคนก็ไม่รู้จะทำอะไรก็เล่นมีการร้องเล่นเพลง ซึ่งเป็นการซอ(ร้อง) และการรำ ทีเรียกกันว่า ฟ้อนล่องน่าน และซอล่องน่าน นั้นเอง
นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้กับนักศึกษา ได้ออกแบบชุดแต่งกายต่างๆ ชิงรางวัล ซึ่่งเป็นเวทีและช่องทางในการทดสอบฝีมือนักศึกษา
และยังมีการแสดงวิถีชีวิตของชนเผ่าต่างๆ และการแต่งกายของคนพื้นเมืองจังหวัดน่าน และถ้าหากใครสนใจก็ลองแวะไปชมกันได้ ซึ่งสถานที่ตั้งของกาดน่าน ก็อยู่ตรงข้ามกับที่ว่าการอำเภอเมืองน่าน หรือเทศบาลนครน่าน สามารถสอบถามจากคนทั่วไป เพราะรู้จักกันดี

บ่อเกลือ


บ่อเกลือ น่าน
บ่อเกลือ ตั้งอยู่ใน อ. บ่อเกลือ อยู่ห่างจากตัวเมืองน่าน ประมาณ 80 กิโลเมตร มีชื่อเสียงในด้านการทำเกลือบน ภูเขาที่ไม่มีที่ใดเหมือนเกลือสินเธาว์เพื่อบริโภคและจำหน่ายเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง บ่อเกลือนี้มีมาแต่โบราณและ จะนำไปจำหน่ายยังกรุงสุโขทัย เชียงใหม่ เชียงตุงหลวงพระบาง รวมถึงสิบสองปันนา จีนตอนใต้เมื่อก่อนนี้จะมี บ่อเกลือ หลายบ่อ แต่เดี๋ยวนี้ได้แห้งไปหมด เหลืออยู่เพียงสองบ่อเท่านั้นซึ่งตั้งตั้งอยู่ที่บ้านบ่อหลวงในพื้นที่เริ่ม ต้นของที่ราบแคบๆ ระหว่างเทือกเขาริมน้ำมาง ซึ่งในบริเวณนี้จะเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านต่าง ๆอีก 8 หมู่บ้าน บ้านบ่อหลวงมีบ่อเกลือสาธารณะอยู่ 2 บ่อ ชาวบ้านจะเรียกว่า บ่อเหนือและบ่อใต้ บ่อเหนืออยู่ริมแม่น้ำบางส่วน บ่อใต้ห่าง ออกไปราว 500 เมตรติดเชิงเขาท้ายหมู่บ้าน ทั้งสองบ่อกรุขอบด้วยคอกไม้กันดินปากหลุมถล่มและ มีนั่งร้านสำหรับยืนตักน้ำเกลืออยู่ข้าง ๆ บ่อเกลือ ทั้งสองบ่อมีน้ำเกลือซึ่งมีความเข้มข้นสูงกว่าบ่ออื่นๆ เคยมี ชาวบ้านพยายามจะขุดหาบ่อเกลือเพิ่มอีกแต่ก็ไม่สามารถพบบ่อเกลืออีกเลยปัจจุบันนี้บ่อเกลือทั้งสองบ่อของ หมู่บ้านมีชาวบ้านเข้ามาตักน้ำเกลือมาต้มทำเกลือแล้วกว่า 50 รายโดยบ่อเหนือมีคนมาทำประมาณ 30 ราย ส่วนบ่อใต้มีคนทำ 20 ราย

การจะนำเกลือจากบ่อขึ้นมาต้มทำเกลือใช่ว่าจะกระทำกันได้ง่าย ๆ ชาวบ้านจะต้องทำพิธีเลี้ยงผีเมืองและเจ้ารักษา บ่อเกลือคือ เจ้าซางคำ กันก่อน โดยจะทำทุกปีในวันแรม 8 ค่ำเดือน 5 หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "งานแก้ม" ในสมัยก่อนเคยทำกันถึง 7 วัน แต่ปัจจุบันลดลงมาเหลือเพียง 3 วันเท่านั้นในอดีตชาวบ้าน อำเภอบ่อเกลือจะ ทำ เกลือขึ้นเพื่อใช้ในครัวเรือน แต่เมื่อปัจจุบันถนนหนทางสะดวกมากขึ้นการเดินทางเข้าเมืองก็ง่าย ชาวบ้านจึงได้ นำเกลือจากที่นี่ออกไป จำหน่ายยังหมู่บ้านต่าง ๆ รวมถึงต่างอำเภอก็มีปัจจุบันอำเภอบ่อเกลือสวยงาม ด้วยภูมิ ประเทศป่าเขาเขียวขจี ควันหลงของสงครามจางหายไปและพื้นที่นี้กำลังได้ รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว แห่งใหม่ของจังหวัดน่านที่รอคอยนักเดินทางเข้ามาสัมผัสกลิ่น ไอของธรรมชาตและตำนานการทำเกลือบนที่สูง


การค้นพบบ่อเกลือ
สำหรับการค้นพบบ่อเกลือ ที่บ้านบอหลวงมีการเล่าสืบต่อๆกันมา ดังนี้ มีนายพรานผู้หนึ่ง มาล่าสัตว์และเห็นเหล่า สัตว์ ทั้งหลายมักจะมากินน้ำที่นี้เป็นประจำ เมื่อลองชิมดูถึงรู้ว่ามีรสเค็ม ข่าวได้ล่วงรู้ถึงเจ้าหลวงภูคา และเจ้าหลวง บ่อ จึงมาดู ูน้ำเค็ม โดยทั้งสองพระองค์ขึ้นไปบนยอดดอยภูจั่น เพื่อแข่งขันกันพุ่งสะเดา(หอก)เจ้าหลวงภูคา พุ่ง ออกไปทางทิศตะวันตกของลำน้ามาง ตรงที่ตั้งหอนอกในปัจจุบัน ผู้คนที่ชมการพุ่งหอกได้นำเอาหินมาก่อเป็นที่ สังเกตุแล้วตั้งเป็นโรงหอทำพิธี ีระลึกตอบแทนบุญคุณเจ้าพ่อทั้งสองทุกปี ภายหลังทั้งสองพระองค์คิดกันว่าจะนำ คนที่ไหนมาอยเมื่อปรึกษากันแล้วจึง ไปนำคนที่อยู่เชียงแสนซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวบ่อหลวง ในปัจจุบันมาหัก ล้างถางป่า ทำนาเกลืออยู่ที่นี้ ดังนั้นชุมชนบริเวณนี้จึงเกิดขึ้นและอาศัยกันมาจนถึงปัจจุบัน


กรรมวิธีการต้มเกลือ
ปัจจุบันชาวบ้านยังคงต้มแกลือด้วยวิธีแบบดั้งเดิม จะตักน้ำเกลือจากบ่อส่งผ่านมาตามลำไม้ไผ่สู่บ่อพัก การทำ เกลือ ของชาวบ้านบ่อเกลือ นำน้ำเกลือที่ตักจากบ่อมาต้มในกะทะประมาณ 4-5ชั่วโมงให้น้ำเกลือระเหยแห้งจาก นั้นก็จะนำไม้้พายมาตักเกลือใส่ตะกร้าที่แขวนไว้เหนือกะทะเพื่อให้น้ำเกลือไหลลงมาในกะทะทำอย่างนี้ ไปเรื่อย จนน้ำในกะทะแห้ง หมดแล้วจึงตักน้ำเกลือจากบ่อมาใส่ลงไปใหม่ หลังจากนั้นใส่ถุงวางขาย กันหน้าบ้านเกลือ เมืองน่านไม่มีไอโอดีนเหมือน เกลือทะเลจึงต้องมีการเติมสารไอโอดีนก่อนถึงมือผู้บริโภค


การเดินทางไปบ่อเกลือ
1. โดยรถยนต์ส่วนตัว
- จากจังหวัดน่าน ขับไปทางอำเภอสันติสุข ก่อนถึงอำเภอสันติสุขประมาณ 2 กิโลเมตร ให้เลี้ยวซ้ายจากนั้นขับตรง ไปแล้วเลี้ยวขวาสู่อำเภอบ่อเกลือ
- จากจังหวัดน่าน ขับไปทางอำเภอปัว ขับไปจนถึงอำเภอปัว จากนั้นใช้ถนนสาย 1256 มุ่งหน้าอุทยานแห่งชาติ ดอยภูคาจากนั้นขับไปตามเส้นทาง มุ่งหน้าสู่อำเภอบ่อเกลือ

น้ำตกศิลาเพชร

เข้าสู่ฤดูร้อนทีไร ถ้าถามคนในจังหวัดน่าน เขาก็จะบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าไปเที่ยวน้ำตกดีกว่า และหนึ่งในน้ำตกที่พูดถึงกัน ก็คือ น้ำตกศิลาเพชร ซึ่งเป็นน้ำตกเล็ก เกือบจะเรียกว่าลำธานก็ว่าได้ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตของอำเภอปัว ขึ้นไปทางทิศเหนือของตัวจังหวัดน่าน ประมาณ 75 กิโลเมตร ซึ่งและห่างจากตัวอำเภอปัว ไปทางทิศตะวันออก ถนน ปัว - ศิลาเพชร ประมาณ 10 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกศิลาเพชรที่คนในจังหวัดน่านพูดถึงกัน ซึ่งถ้าดูกันจริงๆ แล้วละก็แทบจะไม่มีอะไรดึงดูดความสนใจเลยแม้แต่นิดเดียว แต่ก็ยังมีคนเที่ยวอยู่ ซึ่งอาจเป็นเพราะเป็นน้ำตกที่ใกล้ตัวอำเภอปัวมากที่สุด และเป็นน้ำตกที่มีร้านอาหารอยู่ในบริเวณน้ำตก เป็นเพราะไม่ได้อยูในการดูแลของวนอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ซึ่งไม่มีการเก็บค่าบำรุงรักษา ซึ่งหากเป็นเขตการดูแลของวนอุทยานก็จะเสียค่าเขาประมาณ 20/คน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้คนเข้ามาเที่ยวที่น้ำตกศิลาเพชรกันเยอะ
คนส่วนใหญ่ที่มาเที่ยวที่น้ำตกศิลาเพชร ก็จะมากับครอบครัว มานั่งรับประทานอาหารกัน ซึ่งก็จะมีเด็กๆเล่นน้ำกันอยู่อย่างหนาหูหนาตา ซึ่ง ก็ต้องอยู่ในความดูแลของผู้ใหญ่ ซึ่งในแต่ละปี ช่วงเทศกาลสงกรานต์ จะมีเด็กจมน้ำเสียชีวิต ปีละไม่ต่ำกว่า 1-2 คน ดังนั้นใครที่พาเด็กไปเล่นน้ำควรจะต้องหาวิธีป้องกันเด็ก คือ ควรจะเช่าห่วงยางให้เด็กๆเล่นกัน ซึ่งก็มีให้เช่าหน้าทางเข้าน้ำตก อันละ 10 -20 บาท แล้วแต่ขนาด
 อาหารที่ไปน้ำตกแห่งนี้แล้วขาดไม่ได้ ขอบอกว่าอร่อยสุดๆ นั้นก็คือไข่ทรงเครื่อง ซึ่งเป็นอาหารที่นิยมรับประทานกันอยากมากในกลุ่มวัยรุ่นที่มาเที่ยวน้ำตก
การเดินทางไปเที่ยวน้ำตกศิลาเพชรจะมีรถสองแถววิ่งผ่านซึ่งมีแค่ สองเที่ยวคือ 8 โมงเช้า และ 5 โมงเย็น ซึ่งต้องเดินเข้าไปในน้ำตกอีกประมาณ 1 กิโลเมตร ซึ่งการเดินทางที่สะดวกที่สุดคือการนำรถส่วนตัวไปเอง จะสะดวกสุดๆ ซึ่งข้อมูลการท่องเที่ยวสามารถหาได้ตามเวปไซน์ต่างๆ และหากต้องการประวัติที่ชัดเจนก็สามารถสอบถามผู้ใหญ่บ้าน ต.ศิลาเพชร อ.ปัว ซึ่งสามารถสอบถามแม่ค้าที่เข้ามาขายของได้

ดอยภูคา

จังหวัดน่านมีสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาซึ่งวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ โดยเฉพาะบริเวณชายแดนด้านเหนือและตะวันออกซึ่งเป็นรอยต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีดอยภูคาในเขตอำเภอปัว เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัด คือมีความสูงถึง 1,980 เมตร ส่วนพื้นที่ราบจะอยู่บริเวณตอนกลางของจังหวัด และตามลุ่มน้ำต่างๆ แหล่งน้ำที่สำคัญของจังหวัดคือแม่น้ำน่าน ซึ่งมีต้นกำเนิดทางตอนเหนือของจังหวัด แล้วไหลลงไปยังเขื่อนสิริกิติ์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ และบรรจบกับแม่น้ำปิงที่จังหวัดนครสวรรค์เป็นแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากนี้ยังมีลำน้ำสาขาต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ลำน้ำสา ลำน้ำว้า ลำน้ำสมุน ลำน้ำปัว ลำน้ำย่าง ลำน้ำแหง เป็นต้น มีพื้นที่กว้างใหญ่ พื้นที่เต็มไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน ทั้งยังมีประชากรหลายชาติพันธุ์ นับว่าเป็นดินแดนของความหลากหลายอีกแห่งหนึ่งของประเทศ
และสิ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้ ถ้าไปเที่ยวจังหวัดน่าน นั้นก็คือ อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ซึ่ง
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 94 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2542 มีเนื้อประมาณ 1,065,000 ไร่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 8 อำเภอ ของจังหวัดน่าน คือ อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอสันติสุข อำเภอแม่จริม และอำเภอบ่อเกลือ ครอบคลุมบริเวณเทือกเขาดอยภูคา มีจุดสูงสุดคือยอดดอยภูคาที่สูง 1,980 เมตร จากระดับน้ำทะเล นอกจากนี้ยังมีดอกชมพูภูคาซึ่งเป็นพันธ์ไม้หายากและมีที่แห่งนี้ที่เดียวในประเทศไทย ต้นเต่าร้างยักษ์ ป่าดึกดำบรรพ์ ซึ่งการใช้เวลาในการท่องเที่ยวดอยภูคานั้นใช้เวลาไม่นานนักเพราะสถานที่แต่ละที่ก็อยู่ติดๆกัน จึงทำให้ย่นระยะเวลาการเที่ยวได้สั้นลงซึ่งใช้เวลา แค่ 1 วันก็สามารถเที่ยวได้ทั่วแล้ว ซึ่งถ้าใครอยากจะสัมผัสอากาศหนาวก็ต้อง นอนค้างคืนได้ที่วนอุทยานได้เลย
ลานกางเต้นชมดอกชมพูภูคา หลังล่ะ 100 บาท

หรือจะเป็นที่พักที่ทางวนอุธยานจัดให้ หลังละ 350 บาท/คืน ซึ่งนอนได้ หลังละ 2 ท่าน

การเข้าพักในอุทยานแห่งชาติดอยภูคานั้น นักท่องเที่ยวควรจะไปในช่วงเดือน พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ ซึ่งจะมีอากาศที่หนาวเหน็บมากที่สุด ซึ่งต่ำสุด 1 องศา ซึ่งต้องพกเสื้อกันหนาวหนาๆไปด้วยทุกครั้ง
ท่านไหนที่สนใจอยากไปเที่ยวดอยภูคา แนะนำให้หาเพื่อนที่เป็นคนในพื้นที่ไปด้วย ซึ่งจะเป็นไกด์ที่ดีให้แก่เรา คนน่านทุกคนเป็นคนมีน้ำใจงาม มีน้ำใจ ไว้ถ้าได้เข้าไปก็ควรจะผูกมิตรไมตรีไว้ก็จะเป็นการดี ซึ่งถ้าหากอยากไปเอง เที่ยวเองก็ควรจะศึกษาข้อมูลต่างๆให้ละเอียดก่อนเดินทางหรือถ้าหากใครรู้ทางจะไปแล้วแต่ไม่มีที่นอนหรือกางเต้นก็สามารถเข้าไปดูราคา หรือ ขนาดของห้องนอนได้ที่วนอุทยานแห่งชาติดอยภูคาได้เลย หรือจองล่วงหน้าก่อนที่ http://www.thaiforestbooking.com/np_home.asp?lg=1&npid=220 ครับ ขอให้ทุกท่านเที่ยวทั่วน่านให้สนุกนะครับ (ขอบคุณขอมูลต่างๆและรูปภาพต่างๆ จากเวปต่างๆที่ผมไปcopy มานะครับ อย่าว่ากันนะครับเพื่อการศึกษา อย่าบอกคุณครูอังคณาล่ะ อิอิ)